• หน้าแรก

  • เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา

Skills.in.th เริ่มต้นจากการดำเนินงานตามแผนดำเนินโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ผสมผสานกับภารกิจงานของกรมการพัฒนาชุมชน 

โครงการริเริ่มสร้างสรรค์ หนึ่งคน หนึ่งนวัตกรรม สร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เลขที่โครงการ          ..................../2568

ชื่อกิจกรรม               ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตใหม่เพื่อประชาชนและเยาวชนยุคดิจิตอล

ผู้รับผิดชอบ             นายปริญญา วิชชุตเวส นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ


1. หลักการและเหตุผล

                       ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนไทยอย่างมาก ซึ่งมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้อย่างอิสระและแพร่หลาย ในข้อมูลข่าวสารที่มีอย่ากมายในอินเตอร์เน็ตมีทั้งข้อมูลเชิงบวกและเชิงลบข่าวสารความรู้ที่ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่มีโอกาสเสี่ยงสูงในการรับข้อมูลที่ผิด หรือหมดมุ่นในสื่อสร้างบันเทิงมากจนเกินไปทำให้กลายเป็นผลเสียต่อทั้งทางด้านอารมณ์และความคิด

                        เนื่องจากการขาดพื้นที่สำหรับการคัดสรรค์สื่อแห่งสังคมการเรียนรู้ทั้งในด้านวิชาการ หรือแม้แต่การถ่ายทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นหลังที่เข้าไม่ถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านโลกออนไลน์ในปัจจุบัน ทำให้องค์ความรู้ที่มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นสู่รุ่นหายไป คงเหลือเพียงความรู้การเรียนการสอนภาควิชาการซึ่งเข้าถึงได้ง่ายและแพร่หลายทำให้เยาวนชนหรือประชาชนทั่วไปขาดทักษะชีวิต หรือ Life Skills เพื่อเอาตัวรอดในสังคมไทย แม้จะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่หากไม่มีพื้นที่เรียนรู้ทักษะภูมิปัญญาเหล่านี้ก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

                        จึงเกิดการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่มาส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิตและภูมิปัญญาท้องที่ให้เข้ามาอยู่ในระบบ E-learning ซึ่งผู้เรียนรู้จะสามารถเลือกเรียนรู้ทักษะที่สนใจได้ฟรีจากหมวดหมู่และความถนัดในวิชานั้นๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยทักษะชีวิตใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเรียนรู้ภาควิชาการ และการเรียนรู้ในสายวิชาอื่นๆที่นอกเหนือจากการเรียนรู้ในโรงเรียนเท่านั้น

 

2. วัตถุประสงค์

                        1. เพื่อเพิ่มพื้นที่สื่อการเรียนรู้ที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนและประชาชน

                        2. เพื่อรวบรวมทักษะชีวิตใหม่ และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงไว้ และส่งต่อคนรุ่นหลังผู้ที่สนใจ

                        3. ผู้เรียนรู้สามารถเข้าเรียนรู้ผ่านระบบ และมีผู้สำเร็จการเรียนรู้ทักษะชีวิต

                        4. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิตให้กับประชาชน และเยาวชน

                        5. ประชาชน และเยาวชนได้เรียนรู้และมีทักษะความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการวัดระดับ

                        6. มอบใบรับรองการผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะให้กับผู้เรียนที่ผ่านมาตรฐาน

 

3. กลุ่มเป้าหมาย    

                   ประชาชนทั่วไปและเยาวชน ที่มีความสนใจในการเรียนเรียนรู้ทักษะชีวิตใหม่


4. งบประมาณ

                   งบประมาณส่วนตัว เป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)                                                                                                  

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                        1. เกิดพื้นที่สื่อการเรียนรู้ที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนและประชาชน

                        2. คนรุ่นหลังผู้ที่สนใจ เรียนรู้สืบทอดทักษะ และภูมิปัญญาให้คงอยู่

                        3. ระบบสามารถใช้ในเข้าเรียนรู้ และมีผู้สำเร็จการเรียนรู้ทักษะชีวิต

                        4. ประชาชน และเยาวชนมีความสนในในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆมากยิ่งขึ้น

                        5. ประชาชน และเยาวชนมีทักษะความรู้เพิ่มมากขึ้นและผ่านระดับมาตรฐาน

                        6. ผู้เรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์วัดระดับได้รับใบรับรองการผ่านหลักสูตรในแต่ละวิชาเรียน